ข้อมูลพื้นฐาน อบต.
โครงสร้างการบริหาร
ทำเนียบบุคลากร
ช่องทางติดต่อราชการ
การให้บริการ
งานงบประมาณ
การบริการ
งานนโยบายและแผน
กฎหมายน่ารู้
ขั้นตอนการติดต่อราชการ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ภูมิปัญญาท้องถิ่น


  หน้าแรก     ด้านความเชื่อและพิธีกรรม 

ด้านความเชื่อและพิธีกรรม
ด้านความเชื่อและพิธีกรรม  
  ภูมปัญญาท้องถิ่น ด้านความเชื่อและพิธีกรรม        

รำแม่มด

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)

          รำแม่มด เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวตำบลเมืองฝาง ชาวเขมรมีความเชื่อว่า คนทุกคนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ที่คอยปกป้องคุ้มครองบุคคลนั้นอยู่ประจำในขณะมีชีวิตอยู่ซึ่งเรียกว่าเป็นครู หรือ "กรู” ในภาษาเขมร และเมื่อเสียชีวิตไปแล้ววิญญาณของบรรพบุรุษก็ยังวนเวียนอยู่เพื่อคอยปกป้องดู และลูกหลานของตน ให้อยู่เย็นเป็นสุข มี

ความเจริญรุ่งเรืองในการประกอบสัมมาอาชีพ ตามความเชื่อนี้ชนเผ่าเขมรจึงมีความเคารพและไม่ล่วงเกิน  ต่อกันและกัน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการทำผิดต่อครูซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบุคคลอื่น รวมถึงมีความเคารพ ยำเกรงต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และมีจารีตการปฏิบัติที่แสดงออกถึงการระลึกถึงบุญคุณบรรพบุรุษ    อยู่เสมอ เช่น ก่อนการประกอบพิธีกรรมทุกอย่างของชนเผ่าเขมร ต้องมีการเซ่นไหว้เพื่อบอกกล่าวต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เช่น ก่อนลงมือทำนาในครั้งแรก งานแต่งงาน งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ความเชื่อของชาวเขมรนั้นเมื่อมีคนในครอบครัวมีอาการป่วยหรือผิดปกติทางด้านร่างกายหรือจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งญาติจะขอให้ร่างทรงทำนายว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วยซึ่งโดยมากแล้วร่างทรงก็จะบอกสาเหตุของอาการป่วย   ซึ่งเป็นเรื่องทางไสยศาสตร์และบางครั้งก็จะมีสาเหตุมาจากครูของบุคคลนั้น หรือบรรพบุรุษโกรธเคือง          ที่ลูกหลานละเลยไม่ให้ความเคารพนบถือ ไม่มีการแสดงออกถึงความยำเกรง หรือไม่สามัคคีกันในหมู่พี่น้อง    ก็จะบันดาลให้บุคคลนั้นหรือหนึ่งในหมู่เครือญาติที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ อยู่ในช่วงดวงไม่ค่อยดีเกิดความผิดปกติทางด้านจิตใจหรือการเจ็บไข้ได้ป่วยทางร่างกาย จากนั้นญาติของผู้ป่วยก็จะทำพิธีกรรมเรือมมะม็วดเพื่อเป็นการชุมนุมกันของบรรดาร่างทรงของครูและบรรพบุรุษร่ายรำถวายเพื่อขอขมาลาโทษ และถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการป่วย เมื่อรู้สาเหตุแล้ว ก็ถามต่อไปว่า จะให้ทำ อย่างไรจึงจะหาย

********************************************************

หมอเรียกขวัญ

ชื่อ                นายสุธรรม  อุ้มรัมย์

ที่อยู่              บ้านเลขที่  13  หมู่ที่  8  ตำบลเมืองฝาง  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์

ภูมิปัญญาท้องถิ่น        

          เป็นผู้มีความสามารถในด้านการประกอบพิธีเรียกขวัญ (หมอเรียกขวัญ) พิธีกรรม "เรียกขวัญ" ตามความเชื่อว่า ในร่างกายของ คนเราประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก่อตัวกันขึ้นมาเป็นรูปร่างที่ประกอบด้วยอาการ ๓๒ เป็นอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและเชื่อว่าจะมี "ขวัญ" หรือจิตเข้ามาเป็นส่วนคอยควบคุมการดำรงอยู่ของร่างกาย เช่น ขวัญแข้ง, ขวัญชา, ขวัญตา, ขวัญหู, ขวัญใจ, ขวัญคอ ซึ่งขวัญของส่วนต่าง ๆ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน ทั้งร่างกายและจิต หรือขวัญซึ่งหากส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับการกระทบกระเทือนก็จะส่งผลให้อีกส่วนได้รับ ผลกระทบไปพร้อม ๆ กัน อาทิเช่น เมื่อร่างกายได้รับความกระทบกระเทือนบาดเจ็บขึ้นมาก็ย่อมส่งผลให้ จิตใจได้รับผลดังกล่าวตามกัน ดังนั้น เมื่อร่างกายจิตใจได้รับความกระทบกระเทือนก็ย่อมจะมีแนวทาง ในการแก้ไขหรือการเสริมสร้สองส่วนกลับคืนสู่สภาพปกติ ซึ่งการรักษาทางกายนั้นจะมุ่งเน้นการรักษาโดยการใช้ยาสมุนไพร กระบวนการรักษานที่เน้นวิธีการรักษาแต่เพียงภายนอก แต่ทางด้านจิตใจ นอกจากการให้กำลังใจแล้วกระบวนการ "เรียกขวัญ / สู่ขวัญ " ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่หมอเมืองได้มีการนำมาใช้ในการรักษาเพื่อการเสริมสร้างสภาพจิตใจให้คืนสู่สภาพปกติ ดังนั้น ประวัติความเป็นมาของการ เรียกขวัญและการสู่ขวัญตามความคิดเห็นของหมอเมืองเชื่อว่า การเรียกขวัญ           และการสู่ขวัญมีประวัติความ เป็นมาสืบเนื่องมาจากสาเหตุการเจ็บป่วยของคนเราโดยเฉพาะการเจ็บป่วย      ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจซึ่งจำเป็นต้องหาแนวทางในการรักษา ซึ่งกระบวนการเรียกขวัญ / สู่ขวัญ ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ได้มีการถือปฏิบัติสืบ ต่อ 1 กันมาจากรุ่นสู่รุ่น ตามความเชื่อของหมอเมืองเชื่อว่า ขวัญจะมาอยู่กับเนื้อกับตัวของเรา ซึ่งหากทุกวันนี้ถ้าคนเราไม่มี ขวัญก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับขวัญจึงต้องทำการเรียกขวัญและสู่ ขวัญ เพื่อที่จะช่วยให้อาการเหล่านั้นหายเป็นปกติ ถือได้ว่าการเรียกขวัญ / สู่ขวัญก็คล้ายกับเป็นการชะโลมจิตใจหรือปลอบใจเพื่อให้จิตใจดีขึ้น ดังได้กล่าวไว้ว่าคนเรา    มี ๓๒ ขวัญ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยตามความเชื่อ ของหมอเมืองเชื่อว่า อาการเหล่านั้นมักจะเกิดจากขวัญใดขวัญหนึ่งได้หายไปไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ก่อให้เกิด ความไม่สบายกายไม่สบายใจ เช่น เกิดจากการตกใจ เกิดจากการประสบอุบัติเหตุจนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ซึ่งอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ถือเป็นอาการเจ็บป่วยที่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนจึงทำการเรียกขวัญ / สู่ขวัญได้โดยไม่ ต้องทำพิธีการที่เรียกว่า "บนขวัญ" ซึ่งพิธีการบนขวัญจะกระทำเมื่อไม่ทราบสาเหตุหรือเมื่อเราไม่ทราบว่า อาการเหล่านั้นเกิดจากขวัญหายไปหรือไม่จึงได้มีการบรขวัญ     โดยกล่าวคำโวหารหรือคำอ้อนวอนให้อาการเจ็บป่วยหายภายใน 3 วัน 7 วัน ซึ่งขั้นตอนการบนขวัญจะบนกับตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้นแสดงว่าพิธีการเรียกขวัญ สู่ขวัญนี้เกิดขึ้นมาเนื่องจากคนเรามีขวัญเมื่อขวัญหายไปทำให้เกิด อาการเจ็บป่วย จึงต้องมีการเรียกขวัญ / สู่ขวัญ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตัวเราเองไปพบเจอกับสิ่งที่ทำให้ตกใจ     ก็ มักจะอุทานว่า "ขวัญมา ขวัญมา" ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการเรียกขวัญ / สู่ขวัญก็เพื่อให้เกิดความสุขสบาย ทั้งกายและใจ รวมทั้งเพื่อให้อาการเจ็บป่วยเป็นที่อยู่หายเป็นปกติ

 


ประกาศโดย : องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝาง
วันที่ประกาศ : 2023-07-05

ปฏิทินกิจกรรม
กันยายน 2567
อา พฤ
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 1819 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
วันที่ 18 กันยายน 2567
ช่องทางการติดต่อ
กฎหมายน่ารู้
เว็บไซต์บริการ
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 1 คน
หมายเลข IP 44.222.131.239
คุณเข้าชมลำดับที่ 1,786,351

แบบสอบถาม
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
https://www.facebook.com/profile.php?id=100011853701048
ตอบประเมินอบต.
ร้องเรียนการทุจริต
 
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝาง
ตำบลเมืองฝาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
Tel : 044 - 110248 สำนักปลัด   Fax : 044 - 110248
Email : OBT_345muangfang@hotmail.com
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.